Update! กฎหมายแรงงานใหม่ – ลูกจ้างยิ้ม ผ่านร่าง พรบ.คุ้มครองแรงงานใหม่ ประโยชน์เพิ่มเติมเพียบ!

New_ Lalour Law Thailand_กฎหมายแรงงาน_PXO Payroll Outsourcing Services Thailand

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 ที่เพิ่งผ่านมานี้ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีการพิจารณาผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน จากฉบับปี  2541 (ฉบับที่ 7) โดยที่ประชุม สนช. เห็นชอบทั้งหมด 25 มาตรา  ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 5 เมษายน และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป โดยมีการแก้ไขร่างกฎหมายเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์กับลูกจ้าง ซึ่งมีประเด็นสำคัญโดยสรุปดังต่อไปนี้

 

ประเด็นที่ 1: กรณีลากิจ

เพิ่มสิทธิให้ลูกจ้างสามารถลากิจธุระอันจำเป็น ได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน โดยที่ยังได้รับค่าจ้างตามปกติ

 

ประเด็นที่ 2: สิทธิลาคลอดบุตร

เพิ่มสิทธิให้ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ ลาก่อนคลอดและหลังคลอดได้ไม่เกิน 98 วัน จากเดิมมีสิทธิลา 90 วัน ไม่รวมลาฝากครรภ์หรือตรวจครรภ์ แต่ให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย ซึ่งเดิมใน 90 วันนั้น จะได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน และจากประกันสังคมอีก 45 วัน ทั้งนี้เมื่อเพิ่มวันลาคลอดบุตรเป็น 98 วัน สำหรับ 8 วันที่เพิ่มขึ้นมานั้น นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างระหว่างลาหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน

 

ประเด็นที่ 3: เงินค่าชดเชยเลิกจ้าง 

เพิ่มอัตราค่าชดเชยการเลิกจ้างอีกหนึ่งอัตรา คืออัตราที่ 6 ให้กับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จะได้ค่าชดเชย 400 วัน จากเดิม มีแค่ 5 อัตรา มากที่สุดคือชดเชย 300 วัน รวมอัตราใหม่โดยสรุปเป็น ดังนี้

อัตราที่ 1 ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีได้ค่าชดเชย 30 วัน

อัตราที่ 2 ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน

อัตราที่ 3 ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีจะได้รับเงินชดเชย 180 วัน

อัตราที่ 4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน

อัตราที่ 5 ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้เงินชดเชย 300 วัน

อัตราที่ 6 ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชย 400 วัน

 

ประเด็นที่ 4: กรณีเปลี่ยนตัวนายจ้าง

กรณีที่นายจ้างเปลี่ยนตัวนายจ้างหรือนิติบุคคล ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอม สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ โดยที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้กับลูกจ้าง ซึ่งตามกฎหมายเดิมนั้นลูกจ้างต้องไปฟ้องศาลเอาเอง

 

ประเด็นที่ 5: กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบการไปที่อี่น 

หากลูกจ้างไม่ตามไปก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ และได้สิทธิชดเชยให้เป็นไปตาม ระบบอัตราการชดเชยการเลิกจ้างทั้ง 6 อัตราตามที่ได้กำหนดไว้

 

ประเด็นที่ 6: กรณีค่าตอบแทน

หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน โดยของเดิมดอกเบี้ยให้ร้อยละ 7.5 ต่อปี กรณีลูกจ้างไปฟ้องขอ กฎหมายใหม่ให้ได้สูงสุดถึง 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

 

ประเด็นที่ 7: การให้สิทธิที่เท่าเทียมระหว่างหญิงชาย

โดยลูกจ้างไม่ว่าหญิงหรือชายจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องค่าจ้าง ค่าตอบแทน ซึ่งกฎหมายเดิมไม่ได้กำหนดเอาไว้ การระบุความเท่าเทียมกันนี้ไว้ในกฎหมายฉบับใหม่นี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 100

หมายเหตุ Update บทความวันที่ 5 เมษายน 2562

หากยังมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากให้ช่วยเรื่องอื่นใดเกี่ยวกับการบริการงานบุคคล (HR) กดตรงนี้ เพื่อติดต่อทีมงาน PXO ได้เลยคะ ยินดีให้บริการ! 🙂

 

ที่มา: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ – รายละเอียดวาระการประชุม, รายงานการประชุม วันที่ 13 ธันวาคม 2561, ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันนี้ 5 เมษายน 2562

Thai Labour LawUpdates

กฎหมายแรงงาน

6 Comments

  • You really make it appear really easy along with your presentation however I to find this matter to be really something that I feel I would never understand. It kind of feels too complex and extremely large for me. I am looking ahead in your next publish, I?¦ll try to get the hold of it!

  • FYI พรบ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับแก้ไขล่าสุด 2562 ยังไม่ได้ประกาศใช้ค่ะ แต่คาดว่าน่าจะประกาศในเดือนนี้ ยังไงเราจะรออั๊พเดดสถานะอีกทีใน blog นะคะ

  • FYI – ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้วค่ะเมื่อวันที่ 5 เมษายน และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2562

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *