ประกันสังคมมีกี่ประเภท?

Pinnacle X_ ประเภทประกันสังคม ประเทศไทย

คงมีไม่กี่คนที่ทราบว่าประกันสังคมประเทศไทยเรามี 3 ประเภท รู้เพียงแต่ว่าในแต่ละเดือนเราต้องจ่ายค่าประกันสังคม แต่ไม่รู้ว่าทำไมเราต้องจ่าย แล้วเราจะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้างจากการจ่ายเงินในแต่ละเดือน บางคนรู้สึกว่าการจ่ายเงินประกันสังคมเป็นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็นเลย เพราะแทบจะไม่ได้ใช้หรือไม่เคยใช้สิทธิดังกล่าว หากรู้ว่าเราจะได้ใช้สิทธิอะไรจากประกันสังคมบ้างแล้วอาจจะเข้าใจระบบประกันสังคมและเห็นประโยชน์มากขึ้น

ปัจจุบันกองทุนประกันสังคมของประเทศไทยแบ่งผู้ประกันตนออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี
  2. ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ สำหรับผู้ว่างงานและรอการกลับเข้าทำงานใหม่ (มาตรา 39) ได้รับความคุ้มครอง 3 หรือ 4 หรือ 5 หรือ 6 กรณี
  3. ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ สำหรับอาชีพอิสระ/แรงงานนอกระบบ (มาตรา 40) ได้รับความคุ้มครอง 3 หรือ 4 กรณี

ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33)

ผู้ประกันตนในกลุ่มนี้ คือ ลูกจ้างหรือพนักงานบริษัท อายุ 15 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 60 ปี มีหน้าที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยคำนวณจาก 5% ของฐานเงินค่าจ้าง (ขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท) เงินสมทบขั้นต่ำ 82.50 บาท แต่ไม่เกิน 750 บาท ต่อเดือน

สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) จะได้รับความคุ้มครอง มีดังนี้

  1. กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ
  2. กรณีทุพพลภาพ
  3. กรณีเสียชีวิต
  4. กรณีคลอดบุตร
  5. กรณีสงเคราะห์บุตร
  6. กรณีชราภาพ
  7. และกรณีว่างงาน

ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39)

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยเป็นพนักงานบริษัทมาก่อนแล้วลาออกหรือถูกให้ออกจากงาน และยังหางานใหม่ไม่ได้หรือไม่ประสงค์จะเป็นลูกจ้างอีก แต่ต้องการใช้สิทธิประกันสังคมต่อหลังจากที่ความคุ้มครองตามมาตรา 33 สิ้นสุดลง (180 วันหลังจากวันที่ออกจากงาน) ท่านสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ ทั้งนี้การสมัครมีเงื่อนไขว่าต้องเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน และต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39) จะได้รับแบ่งเป็นความคุ้มครอง 3 หรือ 4 หรือ 5 หรือ 6 กรณี ตามความต้องการ ทั้งนี้เงินสมทบจะแตกต่างกันตามความคุ้มครอง รายละเอียดไปตามอ่านต่อหัวข้อ ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39)

ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 40)

ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 40) คือ คนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างบริษัทหรือผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39) มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 ปี ที่ต้องการใช้สิทธิประกันสังคม อย่างเช่น เจ้าของกิจการ อาชีพอิสระ หรือ แรงงานนอกระบบ เป็นต้น ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมมีสิทธิประโยชน์ให้เลือกแค่ 2 แบบเท่านั้น

  • จ่าย 70 บาทต่อเดือน รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 3 กรณี (กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต)
  • จ่าย 100 บาทต่อเดือน รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 4 กรณี (กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต และกรณีชราภาพ)

นอกจากนี้ท่านยังสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 40) ออนไลน์ได้แล้ว คลิกที่นี่

โดยทั่วไปผู้ประกันตนแต่ละประเภทต้องจ่ายเงินสมทบให้กับสำนักงานประกันสังคมทุกเดือน ซึ่งแตกต่างกันไปตามอัตราเงินสมทบของแต่ละคน แต่สิทธิประโยชน์ก็จะแตกต่างกันไปตามอัตราเงินสมทบด้วยเช่นกัน

SSO_Type_Payroll Outsourcing Thailand_PXO

ข้อมูลจาก: Social Security Office – สำนักงานประกันสังคม

Credit picture: Freepik & Facebook สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

Social Security Fund Thailand

1 Comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *